วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

หลักการดูแลรักษานาฬิกาเบื้องต้น

การดูแลรักษานาฬิกามีหลายวิธีแตกต่างกันไปตามคุณสมบัติของนาฬิกาแต่ละเรือน

ทางศูนย์บริการหลังการขาย จึงขอแนะนำ วิธีการง่ายๆ ในการดูแลรักษานาฬิกาของท่านที่ครอบคลุมทั้งวิธีการป้องกันและการดูแลรักษา ดังนี้

1. นาฬิกาที่มีการระบุคุณสมบัติกันน้ำบนหน้าปัดหรือฝาหลัง จะต้องคำนึงถึงขอบเขตและความสามารถของนาฬิกาด้วย ตัวอย่างเช่น

· นาฬิกาที่ระบุกันน้ำลึก 3 ATM (30 เมตร หรือ 100 ฟุต) สามารถใส่นาฬิกาล้างมือหรือล้างหน้าได้ ไม่เหมาะที่จะใส่ว่ายน้ำ

· นาฬิกาที่ระบุกันน้ำลึก 5 ATM (50 เมตร หรือ 165 ฟุต) สามารถใส่ว่ายน้ำระดับตื้นๆ

นาฬิกา แฟชั่นที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการใส่เล่นกีฬาทางน้ำหรือดำน้ำทางศูนย์บริการฯ ไม่แนะนำให้เล่นกิจกรรมดังกล่าว หากท่านต้องการดำน้ำหรือเล่นกีฬาทางน้ำอื่นๆ ทางศูนย์บริการฯ แนะนำให้ใช้นาฬิกาที่ออกแบบและผลิตออกมาเพื่อการดำน้ำโดยเฉพาะ เพื่อรองรับการกระเทือนกระแทกต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และขณะที่อยู่ใต้น้ำไม่ควรโดนปุ่มใดๆ เนื่องจากอาจทำให้น้ำเข้าไปภายในเครื่องได้ ซึ่งโดยปกติยางกันน้ำของนาฬิกาจะมีอายุประมาณ 2 ปี จึงควรนำนาฬิกาเข้ามาตรวจเช็คเปลี่ยนยางกันน้ำที่ศูนย์บริการฯ ทุกๆ 2 ปี

2. นาฬิกา ที่เป็นสายหนัง ไม่ควรใส่โดนน้ำ เนื่องจากจะทำให้สายหนังอับชื้น และมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ การทำความสะอาด ควรใช้ผ้าแห้ง เช็ดตามตัวเรือน และสาย ทำความสะอาดคราบโลชั่นหรือคราบเหงื่อไคลออกจากนาฬิกา เพื่อให้นาฬิกาของท่านดูใหม่อยู่เสมอ และสายนาฬิกาทุกประเภท เมื่อสัมผัสกับคลอรีนในสระว่ายน้ำ ควรรีบทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าทันที ทั้งนี้เพื่อเป็นการถนอม และยืดอายุการใช้งานของสายนาฬิกา สำหรับนาฬิกาที่เป็นสายโลหะ ควรหลีกเลี่ยงสเปรย์ น้ำหอม แอลกอฮอล์ เนื่องจากสารเคมีดังกล่าว จะทำให้สายด่างหรือซีดจางได้

3. โดยทั่วไปนาฬิกาทุกเรือนไม่ควรใส่เล่นกีฬา หรือกิจกรรมที่มีการกระเทือน,กระแทก เช่น ตีสคว็อช ตีเทนนิส ยิงปืน หวดวงสวิงลูกกอล์ฟ หรือขี่จักรยานเสือภูเขาบนพื้นถนนที่ขรุขระมากๆ เนื่องจากการสะเทือนจะส่งผลให้อะไหล่ภายในเกิดความเสียหายได้ เว้นเสียแต่เป็นนาฬิการุ่นที่ออกแบบมาสำหรับการเล่นกีฬาโดยเฉพาะเท่านั้น

หลักการดูแลรักษานาฬิกากลไกอัตโนมัติ เพิ่มเติมดังนี้

1. หากต้องการตั้งวันที่และเวลา ควรตั้งแบบ 24 ชั่วโมง คือ ดึงเม็ดมะยมออกมาจนสุด และหมุนเม็ดมะยมให้เข็มผ่านช่วงเที่ยงคืนไปก่อน และถ้าจะเปลี่ยนวันที่ให้ตรง ควรหมุนเข็มนาฬิกามาหยุดที่ 7 โมงเช้า แล้วจึงดันเม็ดมะยมเข้า 1 ล็อค เพื่อเปลี่ยนวันที่เร็ว เพราะช่วงเวลากลางคืนระบบวันที่ยังทำงานไม่สมบูรณ์ อาจส่งผลให้ระบบภายในเสียหายได้

2. นาฬิกากลไกอัตโนมัติ ควรนำมาไขลานช่วยประมาณ 30-40 รอบทุกครั้ง หากไม่ได้มีการใช้งานเป็นประจำ

ขอขอบคุณ timedeco ที่ให้ความรู้ครับ

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อุปกรณ์ และร้านจำหน่าย สำหรับช่างนาฬิกา


รายการวัสดุและอุปกรณ์ที่ควรมี

1. กล้องขยายแบบติดแว่น 200 บาท

2. กล้องขยายแบบมีสายคล้อง 100 บาท

3. ปากคีบอย่างดี 120 บาท

4. แปรงขนหมู 25 บาท

5. แปรงทองเหลือง 25 บาท

6. ไขควงอย่างดี 30 บาท

7. ด้ามจับแกนไข 150 บาท

8. ที่ดึงเข็ม 90, 120 บาท

9. น้ำมันเบนซินขาว ขวดละ 10 บาท

10. น้ำมันรอนสัน 28 บาท

11. น้ำมันจักร 5 บาท

12. น้ำมันหล่อลื่นจักร 40 บาท

13. เวอร์เนียเหล็ก 250 บาท

14. เข็มแต้มน้ำมัน 40 บาท

15. แกนไข 5 บาท

16. สายสเตนเลสอย่างดี เส้นละ 40 บาท

17. มัลติมิเตอร์ sunwa 250 บาท

18. บล็อคไม้จับนาฬิกา 60 บาท

19. แท่นรองซ่อม ชุดละ 90 บาท

20. ดินน้ำมันล้างจักรแม่เหล็ก 60 บาท

21. ก้ามปูเปิดฝาหลัง 120 บาท

22. เครื่องกดฝาหลัง 750 บาท

23. ลูกไม้กดกระจก 20 บาท

24. ชุดตัดสาย 350 บาท

25. ถ่าน

26. ยางฝาหลัง ห่อละ 7 บาท

27. กาวติดกระจก A-B 70 บาท

28. กาว GS 100 บาท

29. สปริง หรือสลัก อย่างดี ห่อละ 20 บาท

30. กระจกนาฬิกา แผ่นละ 5 บาท

31. กาว 2 หน้าอย่างบางใช้ติดหน้าปัด ม้วนละ 15 บาท

32. เครื่องนาฬิกา 2030 ตัวละ 35 บาท

33. เครื่องดำ PC ตัวละ 20 บาท

34. เม็ดมะยม เม็ดละ 10 บาท

35. เครื่องเช็คถ่าน RENATA 1,900 บาท

ทั้งหมดนั้นเป็นราคาคร่าวๆนะครับ ราคาอาจจะแพงขึ้นหมดแล้วละครับ

ร้านจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ซ่อมนาฬิกา และตัวแทนจำหน่าย พอสังเขป

1. ย่านเยาวราช

2. คลองถม

3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก้วง เฮงฮวดนาฬิกา ที่อยู่ 31 ผดุงด้าว แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 222-4209

4. ช่างมิโดราชดำริ ที่อยู่ 7 ราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 253-2974

5. กวงเฮงล้งโชว์รูม หจก. ที่อยู่ แขวงสัมพันธวงศ์เขตสัมพันธวงศ์กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 222-5391 โทรสาร (02) 225-0509

6. บริษัท ชุงฟุงโลหะกิจ จำกัด ผลิตสายนาฬิกา ที่อยู่ แขวงบางจากเขตภาษีเจริญกรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 457-9196-8, (02) 457-9296 โทรสาร (02) 457-9297

7. บริษัท ดับบลิวดี แซฟไฟน์ กลาส ว็อชเลนส์ จำกัด ที่อยู่ แขวงบางบอนั้เขตบางบอนั้กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 899-0158, (081) 259-6692 โทรสาร (02) 451-0953

8. ห้างหุ้นส่วนจำกัด นาฬิกาเหรียญทอง ที่อยู่ แขวงสัมพันธวงศ์เขตสัมพันธวงศ์กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 222-6391, (02) 221-4350, (02) 222-8491

9. บริษัท ศรีทองพาณิชย์ จำกัด โทรศัพท์ (02) 222-7171

10. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค เอส เวิล์ด โทรศัพท์ (02) 255-6263-4, (02) 658-0379-81

11. บริษัท สหกรุงทอง เทรดดิ้ง จำกัด โทร. (02) 255-8822-5

12. บริษัท โอ.ซี.ซี. จำกัด (มหาชน) โทรศัพท์ (02) 295-4545, (02) 295-4567

13. บริษัท เซอร์วิสเชส จำกัด โทรศัพท์ (02) 656-8466

14. บริษัท จักรทอง จำกัด โทรศัพท์ (02) 221-4732

15. บริษัท เซ็นทรัล เทรดดิ้ง จำกัด โทรศัพท์ (02) 367-5511-5

16. บริษัท ศรีทองพาณิชย์ จำกัด โทรศัพท์ (02) 222-7171

17. บริษัท เดสโค (ประเทศไทย) จำกัด โทรศัพท์ (02) 250-0127-8

18. บริษัท เพนดูลัม จำกัด โทรศัพท์ (02) 254-9076, (02) 255-6114-5

19. บริษัท กวางไทย จำกัด โทรศัพท์ (02) 253-2879, (02) 253-2446

20. บริษัท ฟลิกซ์เทค จำกัด โทรศัพท์ (02) 653-2137-9

21. บริษัท เอส.เอ.บี (ไทยแลนด์) จำกัด โทรศัพท์ (02) 252-6038-40

22. บริษัท รวมจักรอะไหล่นาฬิกา จำกัด ที่อยู่ 592 เจริญกรุง แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 222-5295, (02) 627-5098 โทรสาร (02) 627-5099

23. บริษัท พีซีแมทช์ จำกัด ผลิตอะไหล่ เครื่องประดับชิ้นเล็ก เช่น ชิ้นส่วนนาฬิกา ที่อยู่ แขวงลำปลาทิวั้เขตลาดกระบังั้กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 738-6344, (02) 738-6355

24. บริษัท เหรียญทอง บาซาร์ จำกัด ที่อยู่ 22/7 บางกอกบาซาร์ ถนนชิดลม แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 222-5391 โทรสาร (02) 225-0509

25. เหรียญทองเยาวราช จำหน่ายอะไหล่นาฬิกา ที่อยู่ แขวงสัมพันธวงศ์เขตสัมพันธวงศ์กรุงเทพฯ โทรศัพท์

(02) 222-5575, (02) 221-3580

เอาของเก่ามาให้ดู

มเอานามบัตรเก่าของ ศูนย์รวม เพ้ง.นาฬิกา มาให้ดูครับ เพื่อคนเก่าคนแก่จะจำได้บ้าง มีหลงเก็บไว้บ้าง
จุดประสงค์ที่ผมต้องการก็คือ ต้องการให้เก็บไว้ในหน้าประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของคนไทย ที่เมื่อซัก 30 กว่าปีก่อนนั้น ได้
มี ศูนย์รวมนาฬิกาที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์รวมฯเจ้าแรกของเมืองไทย คุณเห็นไหมขนาดเบอร์โทรศัพท์ยังมีเลขแค่ 6 หลัก กรุงเทพยังใช้อำเภออยู่เลยครับไม่ใช้เขต คุณเห็นนารายณ์ภัณฑ์ไหม ลองหาดูซิว่าอยู่ตรงไหน ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่อื่นนะ

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ประวัติ นาฬิกา Rolex


Rolex ก่อตั้งขึ้นในปี คศ.1908 โดย ฮันส์ วิลส์ดอร์ฟ (Hans Wilsdorf) ชาวเยอรมัน ซึ่งในตอนแรกใช้ชื่อบริษัทว่า วิลส์ดอร์ฟแอนด์เดวิส โดยที่เข้าหุ้นกับน้องเขยซึ่งในขณะนั้น การผลิตนาฬิกาแบบพก (Pocket Watch) ส่วนใหญ่ผลิตที่สวิสเซอร์แลนด์ยังประสบปัญหา ในการทำให้มีขนาดเล็กแต่เที่ยงตรงและแม่นยำเชื่อถือได้เพื่อนำมาใส่ในตัว เรือนนาฬิกาข้อมือ วิลส์ดอร์ฟ เป็นผู้แสวงหาความสมบูรณ์แบบในการพัฒนาเครื่องให้มีขนาดเล็กแต่เที่ยงตรง เพื่อนำมาใช้กับนาฬิกาข้อมือ ที่สามารถสื่อถึงสไตล์ แฟชั่น และรสนิยม ซึ่งในระยะแรกได้ให้ Aegler บริษัทเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในสวิสเป็นผู้ผลิตเครื่องให้
ในปี 1910 Rolex ได้ส่งนาฬิกาไปที่ School of Horology และได้รับรางวัลในฐานะนาฬิกาข้อมือเรือนแรกของโลกที่ได้ Chronometer Rating ความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้นี้เกิดจากการปฏิวัติรูปแบบใหม่ทำให้สามารถกัน น้ำและฝุ่นเข้าตัวเรือนได้โดยการคิดระบบมะยมแบบเกลียว(Screw Crown) ขึ้น ซึ่งนาฬิกากันน้ำเรือนแรกนี้ถูกนำมาโฆษณาอย่างชาญฉลาดโ
ดยทำเป็นอะควาเรียม คือโชว์หน้าร้านโดยมีนาฬิกาอยู่ในโลกใต้ทะเลอันเป็นการแสดงให้เห็นถึง คุณสมบัติการกันน้ำได้อย่างชัดเจน ซึ่งก่อนหน้านี้คนส่วนใหญ่ยังแคลงใจว่านาฬิกาจะกันน้ำได้จริงหรือไม่ นี่เองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของชื่อเสียงที่ทำให้โรเล็กซ์ดังไปทั่วโลก

ปี 1928 Rolex Prince ได้ชื่อว่าเป็นนาฬิกาที่ขายดีที่สุดจากดีไซน์สี่เหลี่ยม 2 หน้าปัด

ปี 1931 Rolex ได้ประดิษฐ์ Rotor รูปครึ่งวงกลมซึ่งหมุนได้อย่างอิสระที่ทำให้เกิดระบบ Perpetualอัตโนมัติขึ้น

วิลส์ดอร์ฟ ไม่ใช่ผู้ผลิตนาฬิกาข้อมือเรือนแรก แต่เขาต้องการเป็นผู้ประดิษฐ์นาฬิกาที่เที่ยงตรง(Accurate) และเชื่อถือได้ (Reliable) ให้ได้เป็นเรือนแรกของโลก ซึ่งในปี 1926 โรเล็กซ์ได้สร้างความตื่นตะลึงให้แก่วงการด้วยรุ่น Oyster ระบบมะเย็มเกลียว และซีลยางเป็นการล็อค 2 ชั้นไม่ให้ฝุ่นและความชื้นเข้า โดยเขาตั้งชื่อมันจากการรำลึกถึงความยากลำบากในการเปิดหอย Oyster ในงานเลี้ยงคืนหนึ่ง การสร้างกระแสนิยมให้กับนาฬิกาของเขา วิลส์ดอร์ฟเลือกวิธีได้อย่างชาญฉลาด เขาได้ให้นักว่ายน้ำที่เตรียมการณ์ว่ายน้ำ ข้ามช่องแคบอังกฤษซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของสาธารณชนในสมัยนั้น โดยสาวอังกฤษนาม Mercedes Gleitzeสวมใส่โรเล็กซ์พร้อมด้วยช่างภาพตามเก็บภาพอย่างใกล้ชิด ในที่สุด Gleitze ก็สามารถพิชิตช่องแคบอังกฤษลงได้พร้อม ๆ กับนาฬิกาโรเล็กซ์ บนข้อมือซึ่งยังคงทำงานของมันอย่างเที่ยงตรงไร้ที่ติ วิลส์ดอร์ฟประโคมข่าวหน้าหนึ่งในนสพ.ลอนดอน เดลิเมล์ อย่างครึกโครมว่า "นาฬิกามหัศจรรย์ ! กันน้ำ กันร้อน กันสะเทือน กันหนาว และกันฝุ่น" ไม่ต้องสงสัยเลยว่าวิลส์ดอร์ฟได้สร้างหัวข้อสนทนาขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นการรณรงค์โฆษณาที่ประสบความสำเร็จที่สุดมาจนทุกวันนี้

จุดอ่อนบาง ประการของ Oyster ถ้าจะมีก็คือปุ่มหมุนไขลานตั้งเวลา ดังที่ทราบกันว่านาฬิการะบบกลไกจะต้องมีการหมุนปุ่มตั้งสม่ำเสมอ และ Oyster จะกันน้ำกันฝุ่นได้ก็ต่อเมื่อมะยมเกลียวถูกขันให้อยู่ในตำแหน่งปิด การหมุนปุ่มบ่อย ๆ ทำให้โอกาสที่น้ำและฝุ่นจะเข้ามีเพิ่มมากตามลำดับ ดังนั้นเพื่อลบจุดอ่อนนี้ โรเล็กซ์ได้สร้างรุ่น Perpetual ออกสู่ตลาด กุญแจคือ Rotor เป็นตัวสร้างพลังสำรอง จากการเคลื่อนไหวของผู้สวมใส่เอง ใช่แล้ว นาฬิการะบบออโตเมติกที่ประสบความสำเร็จสูงสุดเรือนแรกของโลกได้เกิดขึ้นแล้ว ในปี 1931 ซึ่งทำให้โรเล็กซ์สร้างอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ขึ้น ว่ากันว่า Rolex Oyster Perpetual ได้ทำให้ Rolex เป็น Rolex นั่นเอง

อีกกว่า 70 ปีที่ผ่านมา Oyster ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นของคุณภาพภายใต้สภาพการณ์ทดสอบแบบสุดขั้วต่าง ๆ เช่น การดำไปใต้ทะเลลึกกับ Jacques Piccard การขึ้นยอดเขาเอเวอร์เรสกับ เซอร์เอ็ดมุนด์ ฮิลลารี่ การทดสอบในอุณหภูมิขั้วโลก ในทะเลทรายซาฮาร่า รวมทั้งสภาวะไร้น้ำหนักในอวกาศ ทั้งเรื่องเล่าเกี่ยวกับอุบัติเหตุเครื่องบินตก เรือล่ม ตกจากที่สูง โรเล็กซ์ที่ถูกเผลอนำเข้าเตาอบ 500 องศา เข้าเครื่องซักผ้า เหล่านี้ ไม่เคยทำให้โรเล็กซ์ที่ซ่อมแซมแล้วกลับมาเดินเที่ยงตรงอีกไม่ได้

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

นาฬิกา Swiss-Made ผลิตจากที่ไหน


ได้ยินเรื่องนาฬิกาที่เขียนบนเรือนว่า Swiss-Made กันมานานแล้ว จริงๆ แล้วมันหมายความว่าอย่างไร และ
ไว้ใจได้แค่ไหนว่าเป็นนาฬิกาของสวิสเซอร์แลนด์ แดนแห่งนาฬิกาชั้นยอดของโลก

ประเด็นนาฬิกาสวิสเป็น "สวิส" มากแค่ไหนคือหัวใจของข้อถกเถียงในปัจจุบัน เรื่องก็มีอยู่ว่าโลกาภิวัตน์ และระบบเศรษฐกิจเสรีทำให้ชิ้นส่วนของนาฬิกา ซึ่งผลิตได้ถูกกว่าในประเทศอื่นๆ ถูกนำมาใช้ในการผลิตนาฬิกาสวิสมากขึ้นทุกที บริษัทผลิตนาฬิกาใหญ่ๆ ของสวิสเซอร์แลนด์ เช่น Swatch Group/Cie. Financi?reRichemont และ Rolex กังวลในเรื่องนี้เพราะเกรงว่าจะทำให้นาฬิกาสวิส ลดคุณค่าลงจึงเสนอให้ตั้งเงื่อนไขที่เข้มข้นกว่าเดิม ในการที่จะเรียกว่านาฬิกาใดเป็น Swiss-Made

บริษัทผลิตนาฬิกาเล็กๆ ในสวิสเซอร์แลนด์มองว่าการทำให้เงื่อนไขเข้มขึ้นนี้แท้จริงแล้ว ก็คือการบ่อนทำลาย ให้บริษัทของตนล้มละลาย บริษัทเหล่านี้บอกว่าการเพิ่มคุณภาพของนาฬิกาสวิสคือคำตอบสุดท้าย ไม่ใช่สร้างเงื่อนไขที่เข้มขึ้น

ภายใต้กฎหมายสวิสปัจจุบันสิ่งที่เรียกว่า watch movement (ตัวจักรกลของนาฬิกาซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ เช่น กลไกกำหนดการทำงาน) ที่ผลิตในสวิสเซอร์แลนด์รวมกันต้องมีค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ50 ของมูลค่าตัวเรือนจึงจะเข้าข่ายเรียกว่า Swiss-Made ได้ แต่เนื่องจาก watch movement นี้มีมูลค่า
เพียงร้อยละ 15 ถึง 25 ของมูลค่าตัวเรือนเท่านั้นดังนั้น จึงหมายความว่าเพียงประกอบชิ้นส่วนที่ผลิตใน
สวิสเซอร์แลนด์ที่มีมูลค่าเพียงร้อยละ 10 ของ ตัวเรือนก็เข้าข่ายเรียกได้แล้วว่า เป็น Swiss-Made

พูดง่ายๆ ก็คือภายใต้กฎหมายสวิสเซอร์แลนด์ปัจจุบันนาฬิกาที่เรียกว่า Swiss-Made นั้นอาจมาจากชิ้นส่วนผลิตในสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งมีมูลค่าเพียงร้อยละ 10 ของมูลค่าตัวเรือนเท่านั้น อีกร้อยละ 90 ของมูลค่า มาจากชิ้นส่วนนอกประเทศก็ได้ (อาจมาจากจีนทั้งหมดก็เป็นได้)

ผู้ผลิตรายใหญ่ที่กังวลบอกว่าปัจจุบันคล้ายกับการติดตั้งเบาะนั่งราคาแพง ที่ผลิตในสวิสเซอร์แลนด์เข้าไปในรถยี่ห้อหนึ่ง ที่ชิ้นส่วนผลิตนอกสวิสเซอร์แลนด์ทั้งหมดและก็สามารถขายมันไปโดยบอกว่าเป็นรถ Swiss-Made

บริษัทนาฬิกาเล็กๆ จำนวนมากที่เข้าข่ายเรียกกว่าSwiss-Made นั้นเล่นกลโดยใช้ชิ้นส่วนนอกประเทศเกือบ
ทั้งหมด เหลือแต่เพียงชิ้นส่วนที่เป็นแผ่นหมุนเล็กๆ อยู่ข้างในเครื่องที่ขับเคลื่อนเมื่อผู้ใช้เคลื่อนไหวเท่านั้นที่ผลิตในสวิสเซอร์แลนด์ โดยมีมูลค่าประมาณร้อยละ 10 ของตัวเรือน

กลุ่ม Swatch (Omega คือยี่ห้อดัง) ร่วมกับ Richemont และ Rolex (ทั้งสามคือยักษ์ใหญ่ของ
Federation of the Swiss Watch Industry องค์กรตัวแทนผู้ผลิตที่ทรงพลังของประเทศ) พยายามผลักดัน
กฎเกณฑ์ที่เข้มข้นขึ้นเป็นมาตรฐานใหม่ โดยต้องการให้ระบุว่า ชิ้นส่วนผลิตในสวิสเซอร์แลนด์ต้องมีค่าอย่างน้อยร้อยละ 60 ของมูลค่าตัวเรือน และต้องการเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ 80 สำหรับนาฬิกาประเภทกลไกพิเศษหรือผลิตขึ้นมาเพื่อลูกค้าเฉพาะราย

ผู้ผลิตรายเล็กเช่นนาฬิกา Swiss Railways Watchต่อต้านเพราะจะทำให้นาฬิกาของเขาแพงขึ้นอีกเท่าตัว
และโต้เถียงว่ากฎใหม่จะทำลายคุณภาพของนาฬิกา Swiss-Made เพราะผู้ผลิตจะพยายามหาชิ้นส่วนราคา
ถูกจากต่างประเทศมาใช้ เพื่อจะได้สอดคล้องกับมูลค่าไม่เกินกว่าร้อยละ 40 ที่เหลือของตัวเรือน ที่ควรแก้ไขคือพัฒนาคุณภาพนาฬิกาสวิสทุกเรือนให้กันน้ำได้และบอกเวลาใช้อย่างแม่นยำ

การโต้เถียงก็เป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัทตนเอง อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์เชื่อว่ากฎหมายใหม่นี้ จะช่วยรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของคำว่า Swiss-Made และรักษาความเป็นเลิศของนาฬิกาสวิสไว้

กฎใหม่คาดว่าจะทำให้มีการนำเข้าชิ้นส่วนจากเอเชียน้อยลง จะทำให้กลุ่ม Swatch ซึ่งผลิตชิ้นส่วนให้แก่
นาฬิกายี่ห้อต่างๆ ในสวิสเซอร์แลนด์อยู่แล้วเข้มแข็งขึ้นคนสวิสมีงานทำมากขึ้น นาฬิกาสวิสถูกๆ ที่ "หลอก"
ผู้คน ด้วยการนำเข้าชิ้นส่วนเกือบทั้งหมดจากต่างประเทศและนำมาขายในนาม Swiss-Made ก็จะหมดอนาคตไป

ใครที่บ้าคลั่งนาฬิกาสวิสฟังแล้วคงมีสติมากขึ้น Swiss-Made มีความหมายไม่มากนักภายใต้กฎหมายสวิส
ปัจจุบัน และไม่ได้หมายความอย่างเดียวกับ Made in Switzerland

ในโลกปัจจุบันยากที่จะหาสินค้าอุตสาหกรรมใดที่ทุกชิ้นส่วนผลิตขึ้นภายในประเทศใดประเทศหนึ่ง ดังนั้น คำว่า "Made in" ประเทศใดจึงมีความหมายที่เบลอ และนำไปสู่ความเข้าใจที่ผิดๆ

ผ้าไหมไทยที่ดูแสนจะ Made in Thailand นั้นแท้จริงแล้วเส้นไหมยืนของการทอต้องนำเข้าจากญี่ปุ่น
เช่นเดียวกับสีย้อม ผ้าทอฝ้ายฝีมือชั้นยอดจากหมู่บ้านแสนไกลในแดนสยามนั้นมีโอกาสสูงมากที่ฝ้ายใช้ทอนั้นนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากบ้านเราผลิตฝ้ายได้น้อยกว่าที่ใช้ในแต่ละปีเป็นอันมาก

ขอบขอบคุณ
อาหารสมอง : วีรกร ตรีเศศ
ปีที่ 28 ฉบับที่ 1465 วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551 มติชนสุดสัปดาห์ หน้า 44

เมด อิน สวิตเซอร์แลนด์

ผู้ ประกอบการรายใดในสวิตเซอร์แลนด์ที่ผลิตสินค้าแบบสั่วๆ ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานสวิส แล้วยังกล้าอวดอ้างตีตราสินค้าของตัวเองว่า "เมด อิน สวิตเซอร์แลนด์" เมื่อเห็นรายงานชิ้นนี้ก็คงจะหนาวๆ ร้อนๆ กัน เพราะรัฐบาลสวิสกำลังจะปรับแก้ไขกฎระเบียบในการอนุญาตให้ตีพิมพ์ป้ายสินค้า ว่า "เมด อิน สวิตเซอร์แลนด์" และโลโก้กางเขนสีขาวบนผืนธงสีแดง (ธงชาติสวิส) ลงบนผลิตภัณฑ์สินค้าต่างๆ ให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อปกป้องภาพพจน์ชื่อเสียงสินค้าสวิสที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสินค้าคุณภาพระดับ มาตรฐานโลก แต่กลับถูกสินค้าปลอมแปลงคุณภาพต่ำจากที่อื่นกระทำชำเราทำลายชื่อเสียงให้ แปดเปื้อนมานาน

สินค้าคุณภาพเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกของสวิส มีตั้งแต่ นาฬิกา ชีส จนถึงมีดพก เช่นแบรนด์นาฬิกาหรูยี่ห้อดังอย่าง โรเล็กซ์,สวอตช์,ริชมอนด์ และมีดพกยี่ห้อวิคตอเรียน็อกซ์ที่คนไทยเราเมื่อได้ไปเที่ยวหรือไปเยี่ยม เยือนสวิสฯมักไม่พลาดที่จะซื้อติดไม้ติดมือกลับมาเป็นของฝากกัน ซึ่งสินค้าแบรนด์ดังเหล่านี้ก็มักถูกก๊อปปี้ลอกเลียนแบบผลิตขายกันอย่างหน้า ตาเฉย จนพวกเจ้าของกิจการสินค้าปลอมได้เงินไปเป็นกอบเป็นกำ โดยตลาดขายสินค้าก๊อบปี้แหล่งใหญ่ที่เป็นที่รู้กันทั่วโลกก็เห็นจะหนีไม่พ้น จีน

ใช่ว่าสวิสจะไม่มีกฎหมายควบคุมการละเมิดลิขสิทธิ์หรือควบคุม คุณภาพสินค้าที่ผลิตภายในประเทศของตัวเอง หากแต่กฎหมายที่มีใช้อยู่ในขณะนี้ยังมีความหละหลวมและไม่ได้ตระหนักถึงผล กระทบที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจของสวิสอย่างแท้จริงนัก

จากการรวบรวม ข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์ ทำให้รัฐบาลสวิสฯพบว่าการละเมิดสินค้าที่เป็นแบรนด์ของสวิสจริงๆนั้นมีอยู่ อย่างกว้างขวางและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยินดีที่จะจ่ายเงินแพงกว่าถึง 20 เปอร์เซ็นต์ในการซื้อสินค้าที่ผลิตในสวิสจริงๆ

ฉะนั้น กฎหมายฉบับใหม่ที่รัฐบาลสวิสเตรียมนำเข้าสู่สภาเพื่อพิจารณาอนุมัติในต้นปี หน้านั้น จึงมีการกำหนดกฎระเบียบที่ควบคุมผลิตภัณฑ์สินค้าในสวิสอย่างเข้มข้นมากยิ่ง ขึ้น เช่น ข้อกำหนดให้ 60 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในสวิสฯจะต้องเพิ่มสูงขึ้น และในการที่ผู้ประกอบการจะขอตีตราป้ายสินค้าว่าผลิตในสวิสนั้น วัตถุดิบที่จะใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าตัวนั้นๆ จะต้องเป็นวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศสวิสมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ยกเว้นกรณีที่วัตถุดิบนั้นๆ ไม่มีอยู่ในประเทศจริงๆ

ส่วนอุตสาหกรรม การผลิตนาฬิกา ปัจจุบันกำหนดให้ผู้ประกอบการใช้ชิ้นส่วนนาฬิกาที่ผลิตในสวิสในสัดส่วนอย่าง น้อย 50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปถึงจะได้มาตรฐานสวิส แต่ในกฎใหม่จะเสนอให้ใช้ส่วนประกอบนาฬิกาที่ผลิตภายในสวิสมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์

แม้รายงานชิ้นนี้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ ผู้ประกอบการในสวิสก็ตามที แต่ก็น่าจะเป็นแง่คิดให้กับผู้ประกอบทุกราย ไม่ว่าจะอยู่ในที่ใดก็ตามว่าควรจะยึดหลัก"คุณภาพ"ของสินค้าเป็นที่ตั้ง เมื่อนั้นแล้วเชื่อว่าสินค้าของคุณก็จะครองตลาดไปได้อย่างยาวนาน

ขอขอบคุณ
คอลัมน์ ไฮไลต์โลก
โดย มนต์ทิพย์ ธานะสุข
วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11582 มติชนรายวัน หน้า13

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประวัตินาฬิกาOMEGA


OMEGA ถือกำเนิดในปี 1848 ที่ La Chaux-de-Fonds โดย Louis Brandt นักประดิษฐ์หนุ่มอายุเพียง 23 ปี ได้ประกอบนาฬิกาพกซึ่งใช้ชิ้นส่วนของนักประดิษฐ์ในท้องถิ่นและผลงานของเขาได้เริ่มสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จัก

Louis Brandt มีบุตรชาย 2 คน คือ Louis Paul และ César Brandt เป็นผู้รับช่วงกิจการ และได้ย้ายบริษัทไปที่ Bienne ในดือนมกราคม 1880 เนื่องจากพร้อมทั้งด้านสิ่งอำนวยสะดวกและ กำลังคน โดยเริ่มจากโรงงานเล็กๆในเดือนมกราคม และได้ซื้อตึกทั้งหลังในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน จนกระทั่ง 2 ปีต่อมา ได้ย้ายไปที่ Gurzelen district of Bienne ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่และยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน

Louis Paul และ César Brandt ได้ตายในปี 1903 ได้ทิ้งบริษัทผู้ผลิตนาฬิกาสวิสที่ใหญ่ที่สุด ด้วยยอดการผลิตนาฬิกา 240,000 เรือนต่อปี และพนักงาน 800 คน โดยการบริหารของกลุ่มคนหนุ่ม 4 คน ซึ่งผู้ที่อาวุโสที่สุดก็คือ Paul-Emile Brandt มีอายุเพียง 23 ปี
ด้วยความยากลำบากอันเกิดจากสงครามโลกครั้งที่ 1 OMEGA ได้ตัดสินใจรวมกิจการกับ Tissot ตั้งแต่ 1925 จนถึง 1930 ภายใต้ชื่อ SSIH

ในช่วงทศวรรษ 70 SSIH ได้กลายเป็น ผู้ผลิตนาฬิกาสวิสอันดับหนึ่งและเป็นอันดับ 3 ของโลก.

ปี1981 SSIH ได้ถูกซื้อกิจการโดยแบงก์ และในปี 1985 ธุรกิจได้ถูกควบกิจการโดยกลุ่มนักธุรกิจเอกชนกลุ่มหนึ่งภายใต้การบริหารของ Nicolas Hayek และเปลี่ยนชื่อเป็น SMH(Societe suisse de microelectronique et d'horlogerie)

ในปี 1998 ชื่อของ Swatch Group ได้ถูกเรียกขาน และได้รวมเอา Blancpain,
Breguet และ OMEGA เข้ามาร่วมด้วย และแน่นอนชื่อของ OMEGA ก็ยังคงเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่สร้างชื่อที่สุดของ Swatch Group